เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2017 ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ณ.วอชิงตัน ดี.ซี. ได้มีคำสั่งอนุมัติการซื้อขาย ขีปนาวุธ RGM-84L Harpoon Blo...
เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2017 ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ณ.วอชิงตัน ดี.ซี. ได้มีคำสั่งอนุมัติการซื้อขาย ขีปนาวุธ RGM-84L Harpoon Block II(ฮาร์พูน บล็อค ทูว์ รุ่น RGM-84L ) ให้กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีมูลค่าประมาณ24.9 ล้านเหรียญหรือราว(828 ล้านบาท) โดยหน่วยงานความร่วมมือด้านความมั่นคงของสหประชาชาติได้จัดส่งหนังสือรับรองซึ่งระบุถึงสภาคองเกรสของการขายนี้ในวันที่ 9 สิงหาคม 2017
โดยรัฐบาลไทยได้ยื่นคำร้องขอซื้อขีปนาวุธดังกล่าวจำนวน 5 ลูก และขีปนาวุธซ้อมยิง ฮาร์พูน บล็อค ทูว์ 1 ลูก ซึ่งจะรวมถึงอุปกรณ์บรรจุ อะไหล่ การซ่อมบำรุง และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ รวมถึงคู่มือ เอกสารทางเทคนิค การฝึกฝนบุคลากร และอุปกรณ์สำหรับฝึกซ้อม โดยรัฐบาลสหรัฐฯ และตัวแทนจากบริษัทคู่สัญญา จะเป็นผู้ให้บริการด้านวิศวกรรม และมีการให้ความช่วยเหลือเชิงเทคนิค การขนส่ง รวมไปถึงการดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
(รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯเร็กซ์ทิลเลอร์สันจับมือกับนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยพรยูธชานโอชาที่ทำเนียบรัฐบาลในกรุงเทพฯที่ 8 สิงหาคม 2017 REUTERS / Athit Perawongmetha สำนักข่าวรอยเตอร์)
การซื้อขายครั้งนี้จะเป็นการช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ของสหรัฐฯและไทยและเพื่อปรับปรุงความมั่นคงของพันธมิตรที่สำคัญอีกด้วย และการซื้อขายนี้จะช่วย เพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันทางทะเลที่มีประสิทธิภาพให้กับประเทศไทยโดยตั้งใจที่จะใช้ขีปนาวุธบนเรือรบรุ่น DW3000
ทั้งนี้ยังระบุว่าหากการซื้อขายเป็นไปตามแผน จะมีการส่งเจ้าหน้าที่จากรัฐบาลสหรัฐฯ และตัวแทนของบริษัทคู่สัญญา(บริษัทโบอิง) เพื่อมายังประเทศไทย เพื่อดำเนินงานด้านเทคนิค และดูแลทั่วไป ประมาณ 5 ปี และจะไม่มีผลกระทบในเชิงลบต่อความพร้อมด้านกลาโหมของสหรัฐฯ แต่อย่างใด เอกสารดังกล่าวมีการระบุเพิ่มเติมด้วยว่า การยื่นขอคำรับรองจากรัฐสภา ถือเป็นขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายสหรัฐฯ และยังไม่ถือเป็นข้อสรุปหรือสิ้นสุดในการซื้อขาย
(ฮาร์พูน บล็อก II ทดสอบยิงจาก ยูเอสเอสธอร์น)
ข้อมูลเพิ่มเติมเอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน
ขีปนาวุธฮาร์พูนได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ภายหลังเหตุการณ์เรือพิฆาตของอิสราเอลโดนโจมตีจากขีปนาวุธโจมตีเรือ พี-15 เทอร์มิต ซึ่งผลิตในโซเวียต ทำให้มีการพัฒนาขีปนาวุธสำหรับยิงจากอากาศยานลาดตระเวน พี-3 โอไรออน อีกทั้งได้รับการดัดแปลงให้ใช้ทิ้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-52 สตราโตฟอร์เทรส ซึ่งสามารถบรรทุกได้แปดถึงสิบสองลูก ฮาร์พูนได้รับความนิยมจากชาติพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติสมาชิกนาโต อาทิเช่น แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี และชาติพันธมิตรนอกนาโต เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย และในส่วนอื่นๆของโลก ฮาร์พูนได้รับการดัดแปลงให้ใช้ยิงจากเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งได้กับอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เช่น พี-3 โอไรออน, เอ-6 อินทรูเดอร์, เอส-3 ไวกิ้ง, เอวี-8 แฮริเออร์, และเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท
ฮาร์พูน บล็อก ID
ฮาร์พูนรุ่นดังกล่าวได้รับการดัดแปลงเพิ่มขนาดถังเชื้อเพลิง แต่มีจำนวนการผลิตที่จำกัดในสมัยสงครามเย็น (ใช้ในสงครามกับประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอของยุโรปตะวันออก)
แสลม เอทีเอ (บล็อก IG)
อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการบินวนโจมตีเป้าหมาย มีความสามารถใกล้เคียงกับขีปนาวุธร่นโทมาฮอร์ก โดยขีปนาวุธจะทำการคำนวณเป้าหมายที่อยู่เบื้องหน้ากับเป้าหมายที่ได้ระบุไว้ โดยการเปรียบเทียบภาพเป้าหมายจริงกับภาพเป้าหมายที่บันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
ฮาร์พูน บล็อก II
พัฒนาโดยโบอิง โดยเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านต่อต้านทางอิเล็กโทรนิก (ECM) และระบบชี้เป้าด้วยระบบดาวเทียม (GPS)
ฮาร์พูน บล็อก III
แผนการพัฒนาโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา โดยการปรับปรุงระบบควบคุมการยิง สำหรับติดตั้งบนเรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถี เรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถี และใช้ติดตั้งบนเครื่องบินโจมตี/ขับไล่แบบ เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท แต่ภายหลังการพัฒนาที่ล่าช้า นโยบายการควบคุมจำนวนเรือ การทดสอบที่ถูกเลื่อนออกไป ทำให้แผนการพัฒนาถูกยกเลิกในเดือน เมษายน พ.ศ. 2552
(ขีปนาวุธฮาร์พูน ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์)
(ฺฮาร์พูนขณะถูกยิงจากเรือรบหลวงเรจินาของกองทัพเรือแคนาดา)
ขอขอบคุณ
ข้อมูลจาก : dsca.mil
ข้อมูลและภาพจาก : wikipedia
ภาพจาก : usnews
COMMENTS